Health

  • หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอกโรค
    หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอกโรค

    หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอกโรค

    หาวบ่อย หรือการหาว เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีการอ้าปากและสูดหายใจเข้าลึก ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยความเหนื่อย ความง่วง หรือเมื่อยล้า การต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นของร่างกาย การหาวอาจเกิดได้จากการพูดถึงหรือการเห็นผู้อื่นหาว มีแนวคิดว่าที่มนุษย์หาวตาม ๆ กัน (contagious yawn) อาจเป็นการสื่อสารทางสังคมของมนุษย์ชนิดหนึ่ง อาการหาวมากผิดปกติคือมีการหาวมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งนาที ซึ่งอาจเกิดจากความง่วง หรืออาจถูกกระตุ้นจากโรคหรือภาวะต่างๆ ก็เป็นได้

    สาเหตุและวิธีรักษาอาการหาวบ่อย

    • ความง่วง เหนื่อยล้าจากการนอนหลับไม่เพียงพอ

    การนอนหลับไม่เพียงพอนั้นสามารถเกิดได้จากระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นเกินไป หรืออาจเกิดจากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะที่นอนหลับ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ในอนาคต การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น ไม่มีสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ช้า รู้สึกอยู่ไม่สุข เซื่องซึม ไม่ต้องการทำอะไร หรือเหนื่อยเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย หากสงสัยว่าตนมีภาวะนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการนอนหลับ (sleep test)

    • ผลข้างเคียงจากยา เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาช่วยคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า ยาแก้ปวดบางชนิด
    • การหาวมากผิดปกติยังอาจเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ได้ เช่น
      • ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบๆ หัวใจ หรือโรคหัวใจ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปแขนหรือคอ หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด
      • มะเร็งหรือก้อนเนื้อในสมอง เกิดการกดเบียดทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องการการหาวเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ชาหรืออ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาด้านความจำ เป็นต้น
      • โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเช่นกัน จะมีอาการชา อ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ มีการมองเห็นผิดปกติ หรือวิงเวียนร่วมด้วย
      • โรคลมชัก เกิดการนำกระแสประสาทผิดปกติในหลายส่วนหรือทั้งหมดของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในบางครั้งกระแสประสาทผิดปกตินี้เกิดในสมองส่วนที่ควบคุมการหาว จึงทำให้เกิดการหาวที่ผิดปกติร่วมด้วยได้
      • โรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) ทำให้เส้นประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายเสียหาย ไม่สามารถควบคุมร่างกายบางส่วนได้ หรืออาจเกิดจากความเหนื่อยเพลียและควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยปลอกประสาทอักเสบ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติ ชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่ลำตัว ใบหน้า แขน ขา การมองเห็นผิดปกติ วิงเวียน เดินหรือทรงตัวลำบาก เป็นต้น
      • ภาวะตับวาย มักพบในรายที่อาการรุนแรงเนื่องจากจะทำให้อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว สับสน รู้สึกง่วงมากในช่วงกลางวัน บวมตามลำตัวหรือแขน ขา
      • ภาวะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการหาวเป็นวิธีหนึ่งที่ร่างกายใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ หากร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด การใช้ยาบางชนิด ในผู้สูงอายุ อาจเกิดการหาวผิดปกติเพื่อเป็นการช่วยในการควบคุมอุณหภูมิกายอีกวิธีหนึ่ง

    การสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาภาวะทางกายต่างๆ เหล่านี้ได้

    วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยเบื้องต้นด้วยตนเอง

    • หายใจลึกๆ จะช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย สามารถลดการหาวได้ในผู้ที่การหาวเกิดจากร่างกายต้องการออกซิเจน หรือในกรณีหาวติดต่อกับผู้อื่น (contagious yawn)
    • เคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถกระตุ้นระบบประสาทและสมองได้ สามารถลดการหาวในผู้ที่การหาวเกิดจากความเหนื่อยล้า เบื่อ หรือความเครียดได้
    • เพิ่มความเย็นในร่างกาย เช่น การเดินไปยังบริเวณที่อากาศเย็นและถ่ายเท ดื่มน้ำเย็น หรือกินอาหารว่างเย็นๆ  เช่น ผลไม้แช่เย็น

    ควรพบและปรึกษาแพทย์เมื่อมีการหาวบ่อยมากกว่าปกติและมีอาการอื่นที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการทางกายที่ผิดปกติอื่นๆ

    การรักษาอาการหาวบ่อย

    • การหาวที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือความเหนื่อยล้า สามารถใช้วิตามินเสริมช่วยลดความเหนื่อยล้าได้ ในผู้ที่ขาดวิตามิน
    • การหาวผิดปกติที่เกิดจากปัญหาด้านการนอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจแนะนำแนวทางเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น เช่น การเข้านอนเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ คืน การใช้อุปกรณ์ช่วยการหายใจขณะนอนหลับ การออกกำลังเพื่อลดความเครียด หรือการใช้ยาในรายที่จำเป็น เป็นต้น
    • การหาวผิดปกติที่เกิดจากยา แพทย์จะพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรปรับหรือหยุดยาด้วยตนเอง
    • การหาวที่เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ตัวโรค ซึ่งจะทำให้อาการหาวผิดปกติดีขึ้นได้

    หาวบ่อย

    หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอก 10 โรคนี้

    1. โรคนอนไม่หลับ

    อย่างที่บอกว่าอาการหาวจะเกิดขึ้นเพื่อปลุกให้เราสดชื่น ตื่นตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วยนะคะ ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย

     2. โรคลมหลับ (Narcolepsy) 

    โรคลมหลับเป็นโรคที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และผู้ป่วยมักจะมีภาวะหลับกลางอากาศแม้กระทั่งทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ โดยสาเหตุของโรคนี้แพทย์สันนิษฐานกันว่าอาจมีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น ซึ่งก่อนจะเดาว่าอาการหาวบ่อยของเราส่อถึงโรคนี้ ก็อยากให้เช็กอาการของโรคลมหลับก่อน เช่น นอนเท่าไรก็ไม่พอ รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา มีอาการง่วงนอนพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (แขน, ขา) ขณะกำลังจะตื่น หรือเห็นภาพลวงตาช่วงใกล้จะหลับ (ภาวะผีอำ)

    3. นอนกรน

    แม้ภาวะนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือเรียกง่าย ๆ ว่านอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนต้องแสดงอาการหาวบ่อย ๆ ไปด้วย ทว่าอาการนอนกรนสามารถรักษาให้หายได้นะคะ ดังนั้นใครรู้ตัวว่านอนกรนจนบั่นทอนสุขภาพอยู่ตอนนี้ ก็รีบเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนกันดีกว่า

    4. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

    โรคอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทว่าที่เราจะเห็นได้ชัดคืออาการของผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ ได้

    5. โรคอ้วน

    คนอ้วนมักจะมีความไม่คล่องตัวสูง การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำได้ช้ากว่าปกติ และโดยส่วนมากก็ไม่ค่อยจะอยากเคลื่อนไหวร่างกายกันสักเท่าไรด้วย ดังนั้นแน่นอนว่าความเบื่อ ความง่วง อาการเพลียมักจะเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้มากว่าคนที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน นำมาซึ่งอาการหาวบ่อย ๆ ตามมาได้ ที่สำคัญภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจด้วยนะคะ

    6. โรคลมชัก 

    โรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง โดยกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดอาการลัดวงจร หรือทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้มีความผิดปกติทางระบบประสาทจนผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาการหาวบ่อยก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของผู้ป่วยโรคลมชักเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราป่วยโรคลมชักหรือไม่อีกทีนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วโรคลมชักมีความซับซ้อนของอาการแสดงอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียดอีกที ซึ่งเราก็จะได้รู้วิธีดูแลรักษาตัวเองให้หายจากอาการป่วยด้วย

    7. เนื้องอกในสมอง

    อาการหาวบ่อยในบางกรณีเกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท อย่างโรคเนื้องอกในสมองก็เช่นกันค่ะ โดยผลการวิจัยจากวารสาร Neurosurgery and Psychiatry พบว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองมักจะมีอาการหาวบ่อย ดูเซื่องซึม ซึ่งเขาก็สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกกดทับ ทำให้เลือดส่งออกซิเจนมาเลี้ยงสมองได้อย่างลำบาก จนร่างกายต้องรับออกซิเจนเพิ่มด้วยการหาวบ่อย ๆ นั่นเอง

    8. โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS 

    โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS (multiplesclerosis) เกิดจากเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองถูกกระตุ้นจากสารบางชนิดให้เข้าไปทำลายปลอกประสาทในสมอง ซึ่งตัวปลอกประสาทของสมองนั้นมีหน้าที่ส่งต่อกระแสประสาทให้เกิดการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว ทว่าเมื่อเกิดการอักเสบที่ปลอกประสาทแล้ว การนำกระแสประสาทในร่างกายก็จะทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดเป็นอาการผิดปกติต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นก็คืออาการหาวบ่อยจนผิดสังเกตนี่แหละค่ะ

    9. ตับวาย

    อาการหาวบ่อยจะพบในผู้ป่วยโรคตับวายในระยะที่อาการเริ่มรุนแรงแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ จึงเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้ ซึ่งจะว่าไปแล้วอาการหาวบ่อยในผู้ป่วยตับวาย ก็ไม่ถือว่าอันตราย และยังอาจเป็นวิธีช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ด้วยนะคะ

    10. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

    อาการนี้อันตรายและต้องสังเกตให้ดีค่ะ เพราะหากมีอาการหาวบ่อยผิดปกติร่วมกับรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจได้สั้นลง ตัวซีด ตัวเขียว ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่สะดวกจนเกิดความผิดปกติและอาจอันตรายถึงชีวิตได้

    โดยนอกจากอาการหาวบ่อยจะบอกโรคดังกล่าวได้แล้ว ภาวะหาวบ่อยยังอาจเกิดจากประเด็นเหล่านี้

    • ภาวะเครียด สมองล้า อ่อนเพลีย

    สำหรับคนที่มักจะหาวบ่อยในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ใกล้เวลาเลิกงาน และยังคงมีอาการหาวต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้รู้สึกง่วงนอน อาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจแสดงถึงความเครียด ความอ่อนล้าของสมองจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ แบบนี้จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานไม่สะดวก สมองก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายต้องเปิดปากหาวเพื่อรับออกซิเจนเพิ่มเติม

    • ผลข้างเคียงจากยา

    โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการทางจิตเวช เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาอาการวิตกกังวล อาจมีผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยง่วงซึมท้งวัน และเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ให้เห็นได้ หรือยากลุ่มรักษาอาการภูมิแพ้ (ยาแก้แพ้) บางชนิดก็ก่อให้เกิดอาการง่วงหนักมากได้เช่นกัน

    • หาวบ่อยเพราะอาหาร

    อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึม ซึ่งในที่นี้หมายถึงการกินน้ำตาลและแป้งในปริมาณที่มากจนเกินไปนะคะ เนื่องจากเมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไปมาก ตับอ่อนก็จะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงงุนตามมา

    วิธีแก้อาการหาวบ่อย

    • ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เลือดอีกทาง และการดื่มน้ำเปล่ายังจะปลุกความสดชื่นให้ร่างกายด้วย
    • เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะตอนที่หาว ให้ลุกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศให้ตัวเองสักหน่อย
    • สูดหายใจเข้าลึก ๆ บางทีความเผอเรออาจทำให้เราหายใจไม่เต็มปอดได้ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นสูดลมหายใจลึก ๆ เข้าไว้ค่ะ
    • ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ไม่แออัดไปด้วยผู้คน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่มีสีเขียวจากต้นไม้ สีฟ้าจากท้องฟ้า และแสงแดดอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดีเชียวล่ะ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวและช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
    • กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และพยายามเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ที่อาจทำให้ง่วงได้หากกินมากเกินไป
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยพยายามนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
              อย่างไรก็ดีไม่อยากให้ทุกคนตื่นตูมว่าอาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจเพราะป่วยสักโรคใน 10 โรคที่กล่าวมา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากหาวบ่อยแล้วยังต้องสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดคือต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียด ดังนั้นหากสงสัยอาการหาวบ่อยของตัวเองก็ควรปรึกษาแพทย์

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  home-suitehome.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ภาษีคริปโตฯ คืออะไร? เสียยังไง? ใครต้องเสียบ้าง?
    ภาษีคริปโตฯ คืออะไร? เสียยังไง? ใครต้องเสียบ้าง?

    ภาษีคริปโตฯ กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกถกเถียงกันอย่างมากในตอนนี้ หลังกรมสรรพากรประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งในบทความนี้ FINNOMENA ได้รวบรวมทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ และสรุป Q&A ในหัวข้อต่างๆ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยที่คาใจเหล่านักลงทุน

    ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ภาษีคริปโตฯ

    ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล นั่นแปลว่ากำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี

    โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้

    มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล

    มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

    มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

    อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ มีเงินได้เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภทที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ได้แก่

    ส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองโทเคนดิจิทัล เช่น ส่วนแบ่งที่ได้รับจากโปรแกรม Ziplock ของ Zipmex Token

    กำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ โดยตรง (ซึ่งกรณีนี้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)

    การผ่อนปรนของกรมสรรพากร

    ล่าสุด (8 มี.ค.) ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่กรมสรรพากรได้เสนอไว้ โดยจะผ่อนปรนการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ดังนี้

    ภาษีเงินได้: การคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมินหรือกำไรจากสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเข้าเงื่อนไขนี้เฉพาะ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กรณีธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. จะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใด

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ยกเว้น VAT สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Retail CBDC) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566

    สรุปง่ายๆ คือ สำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้น กรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงนักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้

    ต้องเสีย ภาษีคริปโตฯ ในกรณีไหนบ้าง?

    การเสียภาษีคริปโตนั้นแบ่งออกได้หลายกรณี ดังนี้

    การทำกำไรจากการลงทุนคริปโต

    สำหรับผู้ที่เทรดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหรียญคริปโตฯ นั้น หากมีการทำกำไรเกิดขึ้น โดยการคำนวณกำไรนั้น จะเป็นการคำนวณแบบรายครั้ง กล่าวคือ ทุก ๆ ครั้งที่มีการขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องถูกนำไปคำนวณ เพื่อคิดเป็นภาษีคริปโตฯ โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ นำราคาขายมาลบกับราคาต้นทุนของธุรกรรมครั้งนั้น ๆ ก็จะได้ออกมาเป็นกำไร เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณหักภาษีต่อไป โดยใช้วิธีอ้างอิงจากราคา ณ เวลาที่เกิดการแลกเปลี่ยน โดยยึดจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกต้องตามการกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)

    ได้รับรางวัล Airdrop ฟรีต้องเสียภาษีคริปโต หรือไม่?

    สำหรับผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนเป็น Airdrop นั้น นับเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) นั่นหมายถึงผู้ที่ได้รับจะมีหน้าที่นำรายได้ส่วนนี้ไปคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย โดยเลือกระบุเป็น “ได้รับคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้หรือได้รับเป็นรางวัล”

    ภาษีคริปโตฯ 1

    ขุดเหรียญ (Mining) ต้องเสียภาษีคริปโต อย่างไร?

    การขุดเหรียญคริปโตต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน แต่ ณ วันที่ได้รับเหรียญคริปโตฯ จากการขุด จะยังไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน จนกว่าจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตฯ ที่ขุดมาได้ ในกรณีนี้สามารถนำหลักฐานในการขุดมาหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ตามสมควร โดยสามารถใช้วิธีการคำนวณต้นทุนได้ทั้งแบบ First in, First out และ Moving Average Cost และเมื่อเลือกใช้วิธีไหนแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นไปตลอดทั้งปีการคำนวณภาษี สิ่งสำคัญคือควรเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และทำรายงานบัญชีต้นทุนไว้ด้วย

    โดยเมื่อจะนำกำไรที่ได้จากการเทรดเหรียญที่ได้จากการขุดมาคำนวณ สามารถใช้วิธีการคำนวณต้นทุนได้ทั้งแบบ First in, First out และ Moving Average Cost เช่นเดียวกับการคำนวณต้นทุนจากการเทรดทั่วไป แต่ข้อควรปฏิบัติคือ เมื่อเลือกใช้วิธีไหนแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นไปตลอดทั้งปีการคำนวณภาษี นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือควรเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และทำรายงานบัญชีต้นทุนไว้ด้วย

    ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 นั้น ให้แสดงรายได้จากการ ขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดได้ในรายการรายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่น ๆ (มาตรา 40(8)) > ประเภทธุรกิจ : เงินได้อื่น ๆ > โปรดระบุ : รายได้จากการขายคริปโตฯ ที่ขุดได้

    ผู้ที่ได้กำไรจากการเทรดนั้นจะต้องนำกำไรมาคำนวณเพื่อทำการเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยกำไรนั้นจะคิดเป็นแบบรายธุรกรรม และสามารถนำส่วนที่ขาดทุนมาหักกลบได้

    การเทรดกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ

    หากผู้ใดทำธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศ จะไม่สามารถนำในส่วนที่ขาดทุนมาหักลบออกจากการทำกำไรในการคำนวณภาษีได้

    ในกรณีที่ขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่?

    ผู้ที่เทรดกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ในกรณีที่เกิดการขาดทุนจะสามารถนำส่วนที่ขาดทุนนั้นมาหักออกจากกำไรระหว่างปีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรได้นำเสนอแนวทางผ่อนปรน ให้นักลงทุนสามารถนำผลที่ขาดทุนมาหักกลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ แต่จะต้องเป็นการทำธุรกรรมผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ในประเทศไทยเท่านั้น

    วิธีคำนวณภาษีคริปโต

    กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีเลือกวิธีในการคำนวณต้นทุนสำหรับการเสียภาษีคริปโตฯ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังต่อไปนี้

    คำนวณต้นทุนแบบเข้าก่อน-ออกก่อน

    การคำนวณด้วยวิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” (First in, First out หรือ FIFO) คือ หากมีการซื้อเหรียญคริปโตฯ สกุลเดียวกันหลายครั้ง เมื่อตัดสินใจจะขายออก ในการคำนวณภาษีจะต้องคำนวณต้นทุนตามมูลค่าของเหรียญที่ซื้อมาเรียงกันไปตามลำดับการซื้อ

    ตัวอย่างเช่น

    วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ทำการซื้อเหรียญ X จำนวน 1 เหรียญในราคา 1,000 บาท/เหรียญ ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ซื้อเหรียญ X เพิ่มอีก 1 เหรียญ ในราคา 1,500 บาท ต่อมานาย A ต้องการจะขายเหรียญ X ก็สามารถใช้วิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” ในการคิดต้นทุน โดยจะต้องใช้ราคาของเหรียญ X ที่ถูกซื้อเข้ามาก่อนในครั้งแรก นั่นคือมูลค่า 1,000 บาท และหากต้องการขายอีกครั้งในภายหลัง ก็จะต้องใช้ราคาของเหรียญ X ที่ถูกซื้อมาในครั้งที่สองนั่นคือ 1,500 บาทเพื่อคำนวณกำไรที่ได้

    คำนวณต้นทุนแบบถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่

    อีกหนึ่งวิธีคือการคิดแบบต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) ในกรณีที่ได้ซื้อเหรียญคริปโตฯ สกุลเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง ก็จะต้องทำราคาต้นทุนที่ซื้อมาถัวเฉลี่ยเพื่อคำนวณเป็นต้นทุนสำหรับคริปโตฯ ในสกุลนั้น ๆ

    ตัวอย่างเช่น

    วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ทำการซื้อเหรียญ X จำนวน 1 เหรียญในราคา 1,000 บาท/เหรียญ ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ซื้อเหรียญ X เพิ่มอีก 1 เหรียญ ในราคา 1,500 บาท นาย A จะต้องนำมูลค่าของเหรียญ X ทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนของเหรียญ X ((1,000 + 1,500) ÷ 2 = 1,250) ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยของราคาเหรียญ X ก็จะเท่ากับ 1,250 บาท

    สรุปประเด็นสรรพากรผ่อนปรนเกี่ยวกับภาษีคริปโตล่าสุด

    เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 กรมสรรพากรได้มีการนำเสนอแนวทางการผ่อนปรนเกี่ยวกับ ภาษีคริปโตฯ ภายใต้กฎหมายปัจจุบันไว้ดังนี้

    ภาษีเงินได้

    การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินนั้น ทางกรมสรรพากรเสนอให้มีการออกกฎกระทรวง ในการนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรที่ได้ในปีภาษีเดียวกัน โดยกฎข้อนี้จะครอบคลุมเฉพาะ การซื้อขายกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

    การทำธุรกรรมผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. จะไม่มีภาระในการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายได้

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

    กรมสรรพากรจะทำการเสนอพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

    จากทั้ง 3 ประเด็นนี้สรุปก็คือ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. นั้น นักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ และกรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และภาษีมูลค่าเพิ่มจนกว่าจะมีการออกข้อกำหนดครั้งใหม่


    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://home-suitehome.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.finnomena.com