ภาษีคริปโต 2

ภาษีคริปโตฯ กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกถกเถียงกันอย่างมากในตอนนี้ หลังกรมสรรพากรประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งในบทความนี้ FINNOMENA ได้รวบรวมทุกประเด็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษีคริปโตฯ ตั้งแต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการเสียภาษีคริปโตฯ และสรุป Q&A ในหัวข้อต่างๆ เพื่อคลายทุกข้อสงสัยที่คาใจเหล่านักลงทุน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ภาษีคริปโตฯ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นหมายถึง คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล นั่นแปลว่ากำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี

โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ คือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่ได้แก้ไขข้อกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 40 และมาตรา 50 ดังนี้

มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล

มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ มีเงินได้เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภทที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ได้แก่

ส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองโทเคนดิจิทัล เช่น ส่วนแบ่งที่ได้รับจากโปรแกรม Ziplock ของ Zipmex Token

กำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ โดยตรง (ซึ่งกรณีนี้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)

การผ่อนปรนของกรมสรรพากร

ล่าสุด (8 มี.ค.) ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่กรมสรรพากรได้เสนอไว้ โดยจะผ่อนปรนการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ดังนี้

ภาษีเงินได้: การคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมินหรือกำไรจากสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเข้าเงื่อนไขนี้เฉพาะ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กรณีธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. จะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ยกเว้น VAT สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Retail CBDC) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566

สรุปง่ายๆ คือ สำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. นั้น กรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงนักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้

ต้องเสีย ภาษีคริปโตฯ ในกรณีไหนบ้าง?

การเสียภาษีคริปโตนั้นแบ่งออกได้หลายกรณี ดังนี้

การทำกำไรจากการลงทุนคริปโต

สำหรับผู้ที่เทรดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหรียญคริปโตฯ นั้น หากมีการทำกำไรเกิดขึ้น โดยการคำนวณกำไรนั้น จะเป็นการคำนวณแบบรายครั้ง กล่าวคือ ทุก ๆ ครั้งที่มีการขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องถูกนำไปคำนวณ เพื่อคิดเป็นภาษีคริปโตฯ โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ นำราคาขายมาลบกับราคาต้นทุนของธุรกรรมครั้งนั้น ๆ ก็จะได้ออกมาเป็นกำไร เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณหักภาษีต่อไป โดยใช้วิธีอ้างอิงจากราคา ณ เวลาที่เกิดการแลกเปลี่ยน โดยยึดจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกต้องตามการกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)

ได้รับรางวัล Airdrop ฟรีต้องเสียภาษีคริปโต หรือไม่?

สำหรับผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนเป็น Airdrop นั้น นับเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) นั่นหมายถึงผู้ที่ได้รับจะมีหน้าที่นำรายได้ส่วนนี้ไปคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย โดยเลือกระบุเป็น “ได้รับคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้หรือได้รับเป็นรางวัล”

ภาษีคริปโตฯ 1

ขุดเหรียญ (Mining) ต้องเสียภาษีคริปโต อย่างไร?

การขุดเหรียญคริปโตต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน แต่ ณ วันที่ได้รับเหรียญคริปโตฯ จากการขุด จะยังไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน จนกว่าจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตฯ ที่ขุดมาได้ ในกรณีนี้สามารถนำหลักฐานในการขุดมาหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ตามสมควร โดยสามารถใช้วิธีการคำนวณต้นทุนได้ทั้งแบบ First in, First out และ Moving Average Cost และเมื่อเลือกใช้วิธีไหนแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นไปตลอดทั้งปีการคำนวณภาษี สิ่งสำคัญคือควรเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และทำรายงานบัญชีต้นทุนไว้ด้วย

โดยเมื่อจะนำกำไรที่ได้จากการเทรดเหรียญที่ได้จากการขุดมาคำนวณ สามารถใช้วิธีการคำนวณต้นทุนได้ทั้งแบบ First in, First out และ Moving Average Cost เช่นเดียวกับการคำนวณต้นทุนจากการเทรดทั่วไป แต่ข้อควรปฏิบัติคือ เมื่อเลือกใช้วิธีไหนแล้ว ต้องใช้วิธีนั้นไปตลอดทั้งปีการคำนวณภาษี นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือควรเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และทำรายงานบัญชีต้นทุนไว้ด้วย

ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 นั้น ให้แสดงรายได้จากการ ขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดได้ในรายการรายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่น ๆ (มาตรา 40(8)) > ประเภทธุรกิจ : เงินได้อื่น ๆ > โปรดระบุ : รายได้จากการขายคริปโตฯ ที่ขุดได้

ผู้ที่ได้กำไรจากการเทรดนั้นจะต้องนำกำไรมาคำนวณเพื่อทำการเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยกำไรนั้นจะคิดเป็นแบบรายธุรกรรม และสามารถนำส่วนที่ขาดทุนมาหักกลบได้

การเทรดกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ

หากผู้ใดทำธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศ จะไม่สามารถนำในส่วนที่ขาดทุนมาหักลบออกจากการทำกำไรในการคำนวณภาษีได้

ในกรณีที่ขาดทุนต้องเสียภาษีหรือไม่?

ผู้ที่เทรดกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ในกรณีที่เกิดการขาดทุนจะสามารถนำส่วนที่ขาดทุนนั้นมาหักออกจากกำไรระหว่างปีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรได้นำเสนอแนวทางผ่อนปรน ให้นักลงทุนสามารถนำผลที่ขาดทุนมาหักกลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ แต่จะต้องเป็นการทำธุรกรรมผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ในประเทศไทยเท่านั้น

วิธีคำนวณภาษีคริปโต

กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีเลือกวิธีในการคำนวณต้นทุนสำหรับการเสียภาษีคริปโตฯ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังต่อไปนี้

คำนวณต้นทุนแบบเข้าก่อน-ออกก่อน

การคำนวณด้วยวิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” (First in, First out หรือ FIFO) คือ หากมีการซื้อเหรียญคริปโตฯ สกุลเดียวกันหลายครั้ง เมื่อตัดสินใจจะขายออก ในการคำนวณภาษีจะต้องคำนวณต้นทุนตามมูลค่าของเหรียญที่ซื้อมาเรียงกันไปตามลำดับการซื้อ

ตัวอย่างเช่น

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ทำการซื้อเหรียญ X จำนวน 1 เหรียญในราคา 1,000 บาท/เหรียญ ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ซื้อเหรียญ X เพิ่มอีก 1 เหรียญ ในราคา 1,500 บาท ต่อมานาย A ต้องการจะขายเหรียญ X ก็สามารถใช้วิธี “เข้าก่อน-ออกก่อน” ในการคิดต้นทุน โดยจะต้องใช้ราคาของเหรียญ X ที่ถูกซื้อเข้ามาก่อนในครั้งแรก นั่นคือมูลค่า 1,000 บาท และหากต้องการขายอีกครั้งในภายหลัง ก็จะต้องใช้ราคาของเหรียญ X ที่ถูกซื้อมาในครั้งที่สองนั่นคือ 1,500 บาทเพื่อคำนวณกำไรที่ได้

คำนวณต้นทุนแบบถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่

อีกหนึ่งวิธีคือการคิดแบบต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) ในกรณีที่ได้ซื้อเหรียญคริปโตฯ สกุลเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง ก็จะต้องทำราคาต้นทุนที่ซื้อมาถัวเฉลี่ยเพื่อคำนวณเป็นต้นทุนสำหรับคริปโตฯ ในสกุลนั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ทำการซื้อเหรียญ X จำนวน 1 เหรียญในราคา 1,000 บาท/เหรียญ ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย A ได้ซื้อเหรียญ X เพิ่มอีก 1 เหรียญ ในราคา 1,500 บาท นาย A จะต้องนำมูลค่าของเหรียญ X ทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนของเหรียญ X ((1,000 + 1,500) ÷ 2 = 1,250) ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยของราคาเหรียญ X ก็จะเท่ากับ 1,250 บาท

สรุปประเด็นสรรพากรผ่อนปรนเกี่ยวกับภาษีคริปโตล่าสุด

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 กรมสรรพากรได้มีการนำเสนอแนวทางการผ่อนปรนเกี่ยวกับ ภาษีคริปโตฯ ภายใต้กฎหมายปัจจุบันไว้ดังนี้

ภาษีเงินได้

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินนั้น ทางกรมสรรพากรเสนอให้มีการออกกฎกระทรวง ในการนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรที่ได้ในปีภาษีเดียวกัน โดยกฎข้อนี้จะครอบคลุมเฉพาะ การซื้อขายกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

การทำธุรกรรมผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. จะไม่มีภาระในการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายได้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

กรมสรรพากรจะทำการเสนอพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

จากทั้ง 3 ประเด็นนี้สรุปก็คือ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. นั้น นักลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ และกรมสรรพากรจะยังไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และภาษีมูลค่าเพิ่มจนกว่าจะมีการออกข้อกำหนดครั้งใหม่


ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://home-suitehome.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.finnomena.com